 |
|
สมุนไพรรอบรั้วบ้าน
เราสามารถนำมาแปรรูป
ได้หลากหลายรูปแบบ สำหรับวันนี้เราก็มีผลิตภัณฑ
์มาแนะนำกัน คือ ยาสีฟันสมุนไพร MORE
|
|
|
 |
 |
: : สมุนไพรคืออะไร... : : |
สมุนไพรคืออะไร
สมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากส่วนของพืช
สัตว์ หรือแร่ที่ยังมิได้มีการผสมปรุงหรือแปรสภาพ
(ยกเว้นการทำให้แห้ง) เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก
ต้น ใบ ดอก ผล ซึ่งยังไม่ได้ หั่น บด หรือสกัดสารที่สำคัญออกไปถ
แต่ในความรู้สึกของคนทั่วๆไป เมื่อพูดถึงสมุนไพรมักนึกถึงเฉพาะยาที่ได้มาจากส่วนของพืชอย่างเดียว
ลืมนึกถึงยาจากสัตว์ และแร่ไปถ ส่วนของสัตว์ที่นำมาใช้เป็นยา
ได้แก่ เขา ดี และสัตว์ทั้งตัว เช่นเขากวางอ่อน
เขาควายเผือก ดีงู ดีหมี ตุ๊กแก และไส้เดือน เป็นต้น
สำหรับแร่ที่ใช้เป็นยาบ่อยๆ ได้แก่ เกลือสินเธาว์
น้ำปูนใส เกลือแกง เป็นต้น
ทำไมยาสมุนไพรมักมีรสขม
พืชบางชนิดมีรสขม สารขมส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่มแอลคาลอยด์
มีบ้างที่เป็นสารจำพวกเทอร์ปีนส์ แอลคาลอยด์พบได้ในส่วนต่าง
ๆ ของพืชชั้นสูง พบน้อยในพืชชั้นต่ำ ในสัตว์ และจุลินทรีย์
แอลคาลอยด์เป็นสารที่มีฤทธิ์ทาง เภสัชวิทยาที่เด่นชัด
มีแอลคาลอยด์จำนวนมากที่ใช้เป็นยารักษาโรคและเป็นยาพิษ
ตัวอย่างของสารขมได้แก่ ควินีนซึ่งเป็นสารที่มีรสขมมากที่สุดชนิดหนึ่งที่พบในธรรมชาติ
พบได้ใน เปลือกต้นซิงโคนาใช้เป็นยารักษาไข้มาเลเรีย
มอร์ฟีนเป็นแอลคาลอยด์จากฝิ่นใช้เป็นยาแก้ปวดที่ดีมาก
แต่ทำให้เสพติด เรเซอปีนจากรากระย่อมน้อย ใช้เป็นยาลด
ความดันในขณะที่สติ๊กนีน ซึ่งเป็นแอลคาลอยด์ที่ได้จากเมล็ดแสลงใจใช้เบื่อหนูทำให้
เกิดอาการชักได้ ส่วนวินบลาสทีนและวินครีสทีนจากแพงพวยฝรั่งเป็นยารักษา
มะเร็งที่ได้ผลดี เป็นต้นถ ดังนั้นการที่ยาสมุนไพรมีรสขม
เนื่องมาจากรสขมของสารสำคัญซึ่งส่วน มากจะเป็นสารในกลุ่มแอลคาลอยด์ที่มีอยู่ในสมุนไพรนั่นเอง
ข้อดีของสมุนไพรมีหลายประการ
เช่น
- มีพิษและผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน
- พืชสมุนไพรบางชนิดเป็นทั้งอาหารและยา
- เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่หาง่าย และมีอยู่แล้ว
- มีวิธีปรุงไม่ซับซ้อนมาก เมื่อรู้วิธีปรุงยาก็สามารถนำมา
ปรุงใช้เองได้
- ประหยัด และราคาถูก สามารถปลูกพืชสมุนไพรได้เอง
สมุนไพรมีข้อจำกัดหลายประการ
เช่น
- ยาบางขนาดใช้เครื่องปรุงยาหลายชนิด ทำให้การเตรียมเครื่องปรุงยาค่อนข้างยุ่งยาก
- เห็นผลในการรักษาช้า ไม่ทันใจผู้มีอาการป่วย
- ค่อนข้างยากที่จะเลือกใช้สมุนไพรให้ถูกขนาด ถูกสัดส่วน
- พืชสมุนไพรมีมากหลายชนิด และบางชนิดมีลักษณะคล้ายกัน
จึงยากในการเลือกใช้ให้ถูกชนิด
ข้อควรเข้าใจโดยทั่วไปในการปรุงและใช้ยาสมุนไพร
- หากไม่ระบุว่าให้ใช้แห้งหรือสด ให้ถือว่าใช้สด
- ยาใช้ภายนอก หากไม่ระบุวิธีใช้ให้เข้าใจว่าใช้วิธีตำแล้ว
พอก
- ยาใช้ภายใน หากไม่ระบุวิธีใช้ให้เข้าใจว่าใช้วิธีต้มแล้วดื่ม
- ยากิน ให้กินวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
- ปริมาณการดื่ม ยาต้ม ควรดื่มครั้งละ 1 / 2-1 แก้ว
ยาดองยาคั้น กินครั้งละ 1 / 2-1 ช้อนโต๊ะ ยาผงกินครั้งละ1-2
ช้อนชา ยาลูกกลอน กินครั้งละ1-2 เม็ด ยาชง ให้กินครั้งละ
1 แก้ว
อาการแพ้ที่เกิดจากการใช้ยาสมุนไพร
- มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง อาจเป็นตุ่มเล็กๆ ตุ่มโต
ๆ เป็นปื้นหรือเม็ดคล้ายลมพิษ อาจปวมที่ตาจนตาปิด
ริมฝีปากบวมเจ่อ หรือมีเพียงดวงสีแดง ๆที่ผิวหนัง
- มีความรู้สึกเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
แต่หากมีอาการเช่นนี้ก่อนกินยาอาจเป็นเพราะโรค
- หูอื้อ ตามัว ชาที่ลิ้น ชาที่ผิวหนัง
- ใจสั่น ใจเต้นหรือรู้สึกวูบวาบคล้ายหัวใจจะหยุดเต้น
และเป็นบ่อยครั้ง
- ประสาทความรู้สึกไวกว่าปกติ เพียงแตะที่ผิวหนังก็รูสึกเจ็บหรือ
เพียง ลูบเส้นผมเพียงเบาๆ ก็รู้สึกแสบที่หนังศีรษะ
- ตามัว ตัวเหลือง ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม หรือปัสสาวะมีฟองสีเหลือง
|
|
|
|