สมุนไพร > สรรพคุณ
 
 
ยาสีฟันสมุนไพร
   สมุนไพรรอบรั้วบ้าน
เราสามารถนำมาแปรรูป
ได้หลากหลายรูปแบบ สำหรับวันนี้เราก็มีผลิตภัณฑ
์มาแนะนำกัน คือ ยาสีฟันสมุนไพร MORE
 
: : สรรพคุณ : :
1. ระบบทางเดินอาหาร

โรคกระเพาะ ขมิ้นชัน กล้วยน้ำว้า

อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด กระชาย กระทือ กระเทียม กระวาน กะเพรา กานพลู ข่า ขิง ดีปลี ตะไคร้ มะนาว เร่ว แห้วหมู ขมิ้นชัน พริกไทย

อาการท้องผูก ต้นขี้เหล็ก คูณ ชุมเห็ดเทศ ชุมเห็ดไทย มะขาม มะขามแขก แมงลัก

อาการท้องเสีย กล้วยน้ำว้า ทับทิม ฝรั่ง ฟ้าทะลายโจร มังคุด สีเสียดเหนือ ขมิ้น

อาการคลื่นไส้อาเจียน กะเพรา ขิง ยอ

โรคพยาธิลำไส้ ฟักทอง มะเกลือ มะขาม มะหาด เล็บมือนาง สะแก

อาการปวดฟัน แก้ว ข่อย ผักคราดหัวแหวน

อาการเบื่ออาหาร บอระเพ็ด ขี้เหล็ก มะระ สะเดาบ้าน

2. ระบบทางเดินหายใจ

อาการไอและระคายคอจากเสมหะ ขิง ดีปลี เพกา มะขาม มะนาว มะแว้งเครือ มะแว้งต้น

3. ระบบทางเดินปัสสาวะ

อาการขัดเบา กระเจี๊ยบแดง ขลู่ ชุมเห็ดไทย ตะไคร้ สับประรด หญ้าคา

หญ้าหนวดแมว อ้อยแดง

อาการกลากเกลื้อน กระเทียม ชุมเห็ดเทศ ทองพันชั่ง ข่า

4. โรคผิวหนัง

ชันนะตุ มะคำดีควาย

แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก บัวบก น้ำมันมะพร้าว ว่านหางจระเข้

ฝี แผลพุพอง ขมิ้นชัน ชุมเห็ดเทศ เทียนบ้าน ว่านหางจระเข้

อาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย ขมิ้นชัน ตำลึง ผักบุ้งทะเล เสลดพังพอนตัวเมีย พลู เสลดพังพอนตัว

อาการลมพิษ พลู

อาการงูสวัด เริม พญายอ

5. อาการเจ็บป่วยอื่นๆ

อาการเคล็ด ขัด ยอก ไพล

อาการนอนไม่หลับ ขี้เหล็ก

อาการไข้ บอระเพ็ด ปลาไหลเผือก ฟ้าทะลายโจร ย่านาง

โรคเหา น้อยหน่า

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


กระเทียม

ชื่อท้องถิ่น หอมเทียม(เหนือ), กระเทียม, หัวเทียม (ภาคใต้), กระเทียมขาว(อุดรธานี) หอมขาว (อุดรธานี) กระเทียม(กลาง), ปะเซวา(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา หัวใต้ดิน

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงที่หัวแก่ อายุ100วันขึ้นไป

รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร

วิธีใช้

กระเทียมใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้

๑. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด ใช้กลีบปอกเปลือก รับประทานดิบๆครั้งละประมาณ ๕-๗ กลีบ(หนัก๕กรัม) หลังอาหารหรือเวลามีอาการ

๒. อาการกลากเกลื้อน ฝานกลีบกระเทียมแล้วนำมาถูบ่อยๆ หรือตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นโดยใช้ไม้เล็กๆ ขูดบริเวณที่เป็น พอให้ผิวแดงๆก่อน แล้วจึงเอากระเทียมทาบ่อยๆ หรือวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น

กระวาน

ชื่อท้องถิ่น กระวานโพธิสัตว์, กะวานจันทร์ (กลาง), กระวานดำ, กระวานแดง, กระวานขาว (กลางตะวันออก)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลแก่

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ตั้งแต่เริมปลูกจนมีอายุ ๔ - ๕ ปี จึงเริ่มเก็บผลได้ ผลแก่เก็บในช่วงเดือน
สิงหาคม-มีนาคม

รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม เป็นยาขับลมและเสมหะ

วิธีใช้

ผลกระวานแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด โดยเอาผลแก่จัดตากแห้งและบดเป็นผงรับประทานครั้งละ ๑ ช้อนครึ่ง - ๓ ช้อนชา (หนัก ๑ - ๒ กรัม)ชงกับน้ำอุ่น

ผลกระวานยังใช้ผสมกับยาถ่าย เช่นมะขามแขก เพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง

กระเจี๊ยบ
ชื่อท้องถิ่น กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง), ผักเก็งเค้ง, ส้มเก็งเค้ง, (ภาคเหนือ)ส้มตะเลงเคลง (ตาก)

ส้มปู (เงี้ยว – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา กลีบเลี้ยงและกลีบรองดอก

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวใช้เวลา ๔ - ๕ เดือนครึ่ง

รสและสรรพคุณยาไทย กลีบรองดอก กลีบเลี้ยงและใบ มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยากัดเสมหะ

วิธีใช้

ใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ครั้งละ ๑ ช้อนชา (หนัก ๓ กรัม) ชงกับน้ำเดือด ๑ ถ้วย (๒๕๐ มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ ๓ ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป

กะทือ

ชื่อท้องถิ่น กะทือป่า, กะแวน, กะแอน, แฮวดำ(ภาคเหนือ), เฮียวดำ (แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา หัวหรือเหง้าแก่สด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงฤดูแล้ง

รสและสรรพคุณยาไทย รสขมและขื่นเล็กน้อย ขับลม แก้ปวดม้วนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม

วิธีใช้

หัวกะทือเป็นยารักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง โดยใช้หัวหรือเหง้าสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ ๒ หัว (ประมาณ ๒๐ กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสคั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ

กระชาย

ชื่อท้องถิ่น กะแอน, ระแอน (ภาคเหนือ), ขิงทราย (มหาสารคาม), ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ), จี๊ปู, ซีฟู (ฉาน - แม่ฮ่องสอน) เป๊าซอเร้าะ, เป๊าะสี่ (กะหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าใต้ดิน

รสและสรรคุณยาไทย รสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อและบำรุงกำลัง

ใช้วิธี

เหง้ากระชายรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด โดยนำเหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ(สดหนัก ๕ - ๑๐ กรัม แห้งหนัก ๓ - ๕ กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ หรือปรุงเป็นอาหารรับประทาน

กะเพรา

ชื่อท้องถิ่น กะเพราขาว,กะเพราแดง (กลาง), กอมก้อ (เหนือ)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสดหรือแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบที่สมบูรณ์เต็มที่ ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป

รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น จุกเสียดในท้อง ใช้แต่งกลิ่นรสอาหารได้

วิธีใช้

ใบกะเพราแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียดและปวดท้อง โดยใช้ใบและยอดกะเพรา ๑ กำมือ (ถ้าสดหนัก ๒๕ กรัม แห้งหนัก ๔ กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มเหมาะสำหรับเด็กท้องอืด หรือนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ท้องอืดก็ได้

จำนวนยาและวิธีใช้แบบเดียวกันนี้ ใช้แก่อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติได้

กล้วยน้ำว้า

ชื่อท้องถิ่น กล้วยใต้ (ภาคเหนือ)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ลูกดิบ หรือ ลูกห่าม

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บลูกกล้วยช่วงเปลือกยังมีสีเขียว ต้นกล้วยจะให้ผลในช่วงอายุ ๘ - ๑๒ เดือน

วิธีใช้

กล้วยดิบรักษาอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรง โดยใช้กล้วยน้ำว้าห่ามรับประทานครั้งละครึ่งผลหรือหนึ่งผล หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่นตากแดดให้แห้ง บดเป็นผง ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งผลถึงหนึ่งผล หรือบดเป็นผง ปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานครั้งละ ๔ เม็ด วันละ ๔ ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอนรับประทานแล้วอาจมีอาการท้องอืดเฟ้อ ป้องกันได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลม เช่น น้ำขิง พริกไทย เป็นต้น

กานพลู

ชื่อท้องถิ่น จันจี่ (ภาคเหนือ)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอกกานพลูแห้งที่ยังมิได้สกัดเอาน้ำมันหอมระเหยออก และมีกลิ่นหอมจัด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บดอกตูมช่วงที่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดง ช่วงเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์

รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ช่วยขับลม

วิธีใช้

ดอกแห้งของกานพลูรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด โดยใช้ดอกแห้ง ๔ - ๘ ดอก (๐.๑๒ - ๐.๖ กรัม) ต้มดื่มน้ำ หรือบดเป็นผง ชงเป็นน้ำชาดื่ม

ดอกกานพลูยังช่วยไม่ให้เด็กอ่อนท้องขึ้น ท้องเฟ้อได้ โดยใช้ดอกแห้ง ๕ - ๘ ดอกใช่ไว้ในกระติกน้ำร้อนที่ใช้ชงนมให้เด็กอ่อน

ข่า

ชื่อท้องถิ่น ข่าตาแดง ข่าหยวก (ภาคเหนือ)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่ สด หรือแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงเวลาที่เหง้าแก่

รสและสรรพคุณยาไทย เหง้าข่า รสเผ็ดปร่า ขับลม แก้บวม ฟกช้ำ

วิธีใช้

เหง้าข่าใช้เป็นยารักษาโรคดังนี้

๑. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด ทำได้โดยใช้เหง้าแก่สดหรือแห้ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ (สดหนัก ๕ กรัม แห้งหนัก ๒ กรัม) ต้มน้ำดื่ม

๒. โรคกลากเกลื้อน เอาหัวแก่ ๆ ล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นบาง ๆ หรือทุบให้แตกนำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้ ๑ คืน ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นใช้ไม้บาง ๆ ขูดให้เป็นผิวแดง ๆ และ ใช้น้ำยาที่ได้มาทาบริเวณที่ เป็น ทา ๒ ครั้ง เช้า - เย็นทุกวัน จนกว่าจะหาย

ขิง

ชื่อท้องถิ่น ขิงเผือก (เชียงใหม่),ขิงแคลง,ขิงแดง (จันทบุรี),สะเอ (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่สด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเกี่ยวในช่วงอายุ ๑๑ - ๑๒ เดือน

รสและสรรพคุณยาไทย รสหวานเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน

วิธีใช้

เหง้าขิงใช้เป็นยารักษาอาการต่าง ๆ ได้ดังนี้

๑. อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และอาการคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากธาตุไม่ปกติ เมารถเมาเรือ โดยใช้เหง้าแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ ๕ กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม

๒. อาการไอ มีเสมหะ ฝนกับน้ำมะนาว หรือใช้เหง้าสดตำผสมกับน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแทรกเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ

ขลู่

ชื่อท้องถิ่น หนวดงิ้ว, หนาดวัว, หนาดงัว (อุดรธานี), ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน), คลู (ใต้)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใช้ทั้งห้า ทั้งสดและแห้ง (นิยมใช้เฉพาะใบ)

รสและสรรพคุณยาไทย สรรพคุณขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ

วิธีใช้

ใช้เป็นยาแก้อาการขัดเบา วันละ ๑ กำมือ(สดหนัก ๔๐-๕๐ กรัม แห้งหนัก ๑๕-๒๐ กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำดื่ม วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ ๑ ถ้วยชา (หรือ ๗๕ มิลลิลิตร)

ขมิ้น

ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป),ขมิ้นแกง,ขมิ้นหยวก,ขมิ้นหัว(เชียงใหม่),ขี้มิ้น หมิ้น(ภาคใต้)ตายอ(กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร),ละยอ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าสดและแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงอายุ ๙ – ๑๐เดือน

รสและสรรพคุณยาไทย รสฝาด กลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม แก้ท้องร่วง

วิธีใช้

เหง้าขมิ้นใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้

๑. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และอาหารไม่ย่อย โดยล้างขมิ้นให้สะอาด(ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัด ๑-๒ วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย เก็บในขวดสะอาด กินครั้งละ ๒-๓ เม็ด วันละ ๓-๔ ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน บางคนกินขมิ้นแล้วท้องเสีย ให้หยุดยาทันที

๒. ฝี แผลพุพองและแก้อาการแพ้อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย โดยเอาเหง้ายาวประมาณ ๒ นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่ เป็น วันละ ๓ ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้นโรยทาบริเวณที่มี อาการ ผื่นคันจากแมลง

สัตว์กัดต่อยได้

ขี้เหล็ก

ชื่อท้องถิ่น ขี้เหล็กบ้าน(ลำปาง),ขี้เหล็กใหญ่(ภาคกลาง),ขี้เหล็กหลวง(ภาคเหนือ),ผักจี้ลี้(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน),ยะหา(ปัตตานี),ขี้เหล็กจิหรี่(ภาคใต้)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบอ่อนและดอก

รสและสรรพคุณยาไทย ดอกตูมและใบอ่อน รสขม ช่วยระบายท้อง ดอกตูมทำให้นอนหลับ เจริญอาหาร

วิธีใช้

ขี้เหล็กเป็นยารักษาอาการท้องผูก และอาการนอนไม่หลับ ทำได้ดังนี้

๑. อาการท้องผูก ใช้ใบขี้เหล็ก (ทั้งใบอ่อนและใบแก่) ๔-๕ กำมือ ต้มเอาน้ำดื่มก่อนอาหารหรือเวลามีอาการ

๒. อาการนอนไม่หลับ กังวลเบื่ออาหาร ให้ใช้ใบแห้งหนัก ๓๐ กรัม หรือใช้ใบสดหนัก ๕๐ กรัม ต้มเอาน้ำรับประทานก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า (ใส่เหล้าขาวพอท่วมยาแช่ไว้ ๗ วัน คนทุกวันให้ น้ำยาสม่ำเสมอ กรองกากยาออก จะได้ยาดองเหล้าขี้เหล็ก) ดื่มครั้งละ ๑-๒ช้อนชาก่อนนอน

คูณ

ชื่อท้องถิ่น ลมแล้ง(ภาคเหนือ),ลักเกลือ,ลักเคย(ปัตตานี),ชัยพฤกษ์,ราชพฤกษ์(ภาคกลาง),กุเพยะ(กะเหรี่ยง)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เนื้อในฝักแก่

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม

รสและสรรพคุณยาไทย รสหวานเอียนเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาระบาย ทำให้ถ่ายสะดวก ไม่มวนไม่ไซ้ท้อง

วิธีใช้

เนื้อในฝักคูณแก้อาการท้องผูก ทำได้โดยเอาเนื้อในฝักแก่ก้อนเท่าหัวแม่มือ(ประมาณ๔ กรัม) ต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือตอนเช้าก่อนอาหาร เหมาะเป็นยาระบายสำหรับคนที่ท้องผูกเป็นประจำและสตรีมีครรภ์ก็ใช้ฝักคูณเป็นยาระบายได

ชุมเห็ดเทศ

ชื่อท้องถิ่น ชุมเห็ดเทศใหญ่ (ภาคกลาง),ขี้คาก,ลับมึนหลวง,หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ)ส้มเห็ด (เชียงราย),จุมเห็ด

(มหาสารคาม),ตะลีพอ (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอกสด , ใบสดหรือแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบชุมเห็ดเทศขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ต้องเก็บก่อนออกดอก,เก็บดอก

สดเป็นยา

รสและสรรพคุณสมุนไพร รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื่อน โรคผิวหนัง ดอกและใบต้มแก้อาการท้องผูก

วิธีใช้

ใบและดอกชุมเห็ดเทศใช้เป็นยารักษาโรคและอาการดังนี้

๑. ท้องผูก ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสด ๒-๓ ช่อ ต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือนำใบสดมาล้างให้สะอาดหั่นตากแห้ง ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ ๑๒ ใบ หรือใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยครั้งละ ๓ เมล็ด รับประทานก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการท้องผูก

๒. โรคกลาก ใบชุมเห็ดเทศสด ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย หรือใช้ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียมเท่า ๆ กัน ผสมกับปูนแดงที่กินกับหมากเล็กน้อย ตำผสมกันทาบริเวณที่ เป็นกลาก โดยเอาไม้ไผ่ขูดผิวให้แดงก่อน ทาบ่อย ๆ จนหาย หายแล้วทาต่ออีก ๗ วัน

๓. ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบชุมเห็ดเทศและก้านสด ๑ กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยา แล้วเคี่ยวให้เหลือ ๑ ใน ๓ ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ ๒ ครั้ง เช้า - เย็น ถ้าเป็นมากให้ใช้ประมาณ ๑๐กำมือ ต้มอาบ

ชุมเห็ดไทย

ชื่อท้องถิ่น ชุมเห็ดนา,ชุมเห็ดเล็ก,ชุมเห็ดควาย(ภาคกลาง),ลับมึนน้อย(ภาคเหนือ),ชุมเห็ดเขาควาย,เล็บมื่นน้อย(ภาคอีสาน),พรมดาน(สุโขทัย)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ดแห้งที่ผ่านการคั่วแล้ว

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงที่ฝักแห้งเป็นสีน้ำตาล

รสและสรรพคุณยาไทย กลิ่นหอม เป็นยาระบาย และขับปัสสาวะ

วิธีใช้
เมล็ดชุมเห็ดไทยใช้เป็นยารักษา

๑. อาการท้องผูก ใช้เมล็ดแห้งคั่ว ๒ ช้อนคาว ถึง ๒ ช้อนครึ่ง (จำนวน ๑๐ - ๑๓กรัม) ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม ดื่มแล้วอาจมีอาการง่วงนอน

๒. อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เมล็ดแห้งคั่ว วันละ ๑-๓ ช้อนคาว (จำนวน๕ - ๑๕ กรัม) ใส่น้ำ ๑ ลิตร แล้วตั้งไฟต้มให้เหลือ ๖๐๐ มิลลิลิตร แบ่งดื่มวันละ ๓ ครั้ง ๆ ละ ๒๐๐มิลลิลิตร หลังอาหาร

ดีปลี
ชื่อท้องถิ่น ดีปลีเชือก(ภาคใต้),ประดงข้อ,ปานนุ(ภาคกลาง)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลแก่แห้ง (หมอยาเรียก ดอกดีปลี)

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงที่ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก ตากแดดให้แห้ง

รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อนขม บำรุงธาตุ ขับลม แก้จุกเสียด

วิธีใช้

ผลแก่แห้งของดีปลี ใช้เป็นยารักษาอาการ ดังนี้

๑. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ โดยใช้ผลแก่แห้ง ๑ กำมือ (ประมาณ ๑๐ - ๑๕ ดอก) ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าไม่มีดอกใช้เถาต้มแทนได้

๒. อาการไอ และขับเสมหะ ใช้ผลแก่แห้ง ประมาณครึ่งผล ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือกวาดคอ หรือจิบบ่อย ๆ

ตำลึง
ชื่อท้องถิ่น ผักแคบ (ภาคเหนือ),แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบที่สดและสมบูรณ์

รสและสรรพคุณยาไทย รสเย็น ใบสดตำคั้นเอาน้ำแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยที่ทำให้ปวดแสบร้อนและคัน

วิธีใช้
ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย เช่นยุงกัด ถูกตัวบุ้ง ใบตำแย แพ้ละอองข้าว โดยเอาใบสด ๑ กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเกลือเล็กน้อยแล้วคั้นน้ำจาก ใบเอามาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อย ๆ จนกว่าจะหาย

ตะไคร้
ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ),ไคร (ภาคใต้),คาหอม (เงี้ยว - แม่ฮ่องสอน),เชิดเกรบ,เหลอะเกรย (เขมร - สุรินทร์),หอวอตะโป๊ะ (กะเหรี่ยง -แม่ฮ่องสอน),หัวขิงไค (เขมร - ปราจีนบุรี)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ลำต้นและเหง้าแก่ สดหรือแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเหง้าและลำต้นแก่

รสและสรรพคุณยาไทย รสปร่ากลิ่นหอม บำรุงไฟธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร แก้คาว

วิธีใช้
ตะไคร้เป็นยารักษาอาการต่าง ๆ ดังนี้

๑. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้ลำต้นแก่สด ๆ ทุบพอแหลก ประมาณ ๑ กำมือ (ราว ๔๐ - ๖๐ กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือประเป็นกอบอาหาร

๒. อาการขัดเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัด ไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม) ให้ใช้ต้นแก่สด วันละ ๑ กำมือ (สดหนัก ๔๐ - ๖๐ กรัม แห้งหนัก ๒๐ - ๓๐ กรัม) ต้มกับน้ำดื่มวันละ ๓ ครั้ง ๆ ละ ๑ ถ้วยชา (๗๕ มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร หรือใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบาง ๆ คั่วไฟอ่อน ๆ พอเหลือง ชงเป็นชาดื่มวันละ ๓ ครั้ง ๆ ละ ๑ ถ้วยชา พอปัสสาวะสะดวกจึงหยุดยา

เทียนบ้าน
ชื่อท้องถิ่น เทียนดอก,เทียนไทย,เทียนสวน (ภาคกลาง)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด ดอกสด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์

รสและสรรพคุณยาไทย ส่วนใหญ่หมอจีนใช้ใบของเทียนดอกขาว ตำพอกเล็บขบ และปวดตามนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ถอนพิษปวดแสบ ปวดร้อน

วิธีใช้
ใช้ใบสดและดอกสดประมาณ ๑ กำมือ ตำละเอียดและพอก ทาบริเวณที่เป็นฝีและ แผลพุพอง วันละ ๓ ครั้ง (สีจากน้ำคั้นจะติดอยู่นาน จึงควรระวังการเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายส่วนอื่น ๆ)

ทองพันชั่ง
ชื่อท้องถิ่น หญ้ามันไก่, ทองพันชั่ง (ภาคกลาง)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสดหรือราก (สดหรือแห้ง)

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ใบเก็บช่วงที่สมบูรณ์เต็มที่

รสและสรรพคุณยาไทย ใบสดเบื่อเมา เป็นยาเย็นดับพิษไข้ รากป่นละเอียด แช่เหล้า ๗ วัน ทาแก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน

วิธีใช้
ใบสดหรือรากสดของทองพันชั่ง ใช้รักษากลากเกลื้อน โดยใช้ใบ ๕ - ๘ ใบ หรือราก ๒ - ๓ ราก (จำนวนที่ใช้อาจเพิ่มหรือลดลงตามอาการ) ตำให้ละเอียด แช่เหล้าหรือแอลกอฮอล์ ๗ วัน นำมาทาบริเวณที่เป็นบ่อย ๆ จนกว่าจะหาย

ทับทิม
ชื่อท้องถิ่น พิลา (หนองคาย),พิลาขาว,มะก่องแก้ว (น่าน),มะเก๊าะ (ภาคเหนือ)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกผลแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงที่ผลแก่ ใช้เปลือก ผลตากแดดให้แห้ง

รสและสรรพคุณยาไทย รสฝาด เป็นยาฝาดสมาน

วิธีใช้
เปลือกทับทิมใช้เป็นยาแก้ท้องเดินและบิด มีวิธีใช้ดังนี้

๑. อาการท้องเดิน ใช้เปลือกผลแห้งประมาณ ๑ ใน ๔ ของผล ฝนกับน้ำฝน หรือน้ำปูนใสให้ข้น ๆ รับประทานครั้งละ ๑-๒ ช้อนแกง หรือต้มกับน้ำปูนใส แล้วดื่มน้ำต้มก็ได้

๒. บิด (มีอาการปวดเบ่งและมีมูกหรืออาจมีเลือดด้วย) ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิมครั้งละ๑กำมือ(๓-๕กรัม) ต้มกับน้ำดื่มวันละ ๒ ครั้ง อาจใช้การพลูหรืออบเชยแต่กลิ่นให้น่าดื่มก็ได้

น้อยหน่า
ชื่อท้องถิ่น น้อยแน่ (ภาคใต้), มะนอแน่, มะแน่ (ภาคเหนือ), มะออจ้า, มะโอจ่า (เงี้ยวภาคเหนือ), ลาหนัง (ปัตตานี), หน่อเกล๊าะแช (เงี้ยว-แม่ฮองสอน), หมักเขียบ (ภาคอีสาน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสดและเมล็ด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบสดและเมล็ด

รสและสรรพคุณยาไทย ใบแก้กลากเกลื้อนและฆ่าเหาชาวชนบทมักเอาลูกตายมาฝนกับเหล้า รักษาแผล

วิธีใช้
ใบสดและเมล็ดน้อยหน่าใช้ฆ่าเหา โดยเอาเมล็ดน้อยหน่าประมาณ ๑๐ เมล็ด หรือใบสดประมาณ ๑ กำมือ ( ๑๕ กรัม ) ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าว ๑-๒ ช้อนโต๊ะ ขยี้ให้ทั่ว ศีรษะ แล้วใช้ผ้าคลุมโพกไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง และสระผมให้สะอาด(ระวังอย่าให้เข้าตาจะทำให้แสบตาตาอักเสบได้)

บอระเพ็ด
ชื่อท้องถิ่น เครือเขาฮอ, จุ่งจะลิง (ภาคเหนือ), เจตมูลหนาม(หนองคาย), หางหนู (อุบลราชธานี), ตัวเจตมูลยาน, เถาหัวด้วย (สระบุรี), เจ็ดหมุนย่าน (ภาคใต้)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เถาหรือลำต้นสด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเถาแก่

รสและสรรพคุณยาไทย รสขมจัด เย็น มีสรรพคุณ ระงับความร้อน แก้ไข้ทุกชนิด ช่วยเจริญอาหาร

วิธีใช้
ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้

๑. อาการไข้ใช้เถาและต้นสด ครั้งละ ๒ คืบ (๓๐-๔๐กรัม) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้น้ำ ๓ ส่วนต้มเคี่ยวให้เหลือ ๑ ส่วน ดื่มก่อนอาหารวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ

๒. อาการเบื่ออาหาร เป็นยาช่วยเจริญอาหารโดยใช้ขนาดและวิธีการเช่นเดียวกับใช้แก้ไข้

บัวบก
ชื่อท้องถิ่น ผักหนอก (ภาคเหนือ),ประหนะเอขาเต๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ต้นสดและใบสด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบที่สมบูรณ์เต็มที่

รสและสรรพคุณยาไทย กลิ่นหอม รสขมเย็นเล็กน้อย แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า

วิธีใช้
บัวบกใช้รักษาไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยเอาใบบัวบกทั้งต้นสด ๑ กำมือ ล้างให้สะอาด และตำให้ละเอียดคั้นน้ำทาบริเวณที่เป็นบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้

ปลาไหลเผือก
ชื่อท้องถิ่น แฮพันชั้น, ตุงสอ (ภาคเหนือ),คะนาง,ชะนาง (ตราด),หยิกบ่อถองเอียนด่อน (ภาคอีสาน),ตรึงบาดาล (ปัตตานี),กรุงบาดาล (สุราษฏร์ธานี),เพียก (ภาคใต้)

ส่วนที่ใช้เป็นยา รากตากแห้ง (รากกลมยาว เป็นเนื้อไม้ค่อนข้างแข็งสีขาว)

รสและสรรพคุณยาไทย รสขมจัด เบื่อเมาเล็กน้อย รากเป็นยาแก้ไข้ ตัดไข้ทุกชนิด

วิธีใช้
ใช้รากแห้งของปลาไหลเผือกแก้ไขได้ โดยใช้ครั้งละ ๑ กำมือ (หนัก ๘ - ๑๘ กรัม) ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ ๒ ครั้ง เช้าละเย็น หรือเวลามีอาการ

ฝรั่ง
ชื่อท้องถิ่น มะมั่น,มะก้วยกา (ภาคเหนือ),บักสีดา (ภาคอีสาน),ย่าหมู,ยามู (ภาคใต้)มะปุ่น (สุโขทัย),มะแกว (แพร่)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบแก่สด หรือลูกอ่อน

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงที่แก่เต็มที่ หรือลูกขณะยังอ่อนอยู่

รสและสรพคุณยาไทย รสฝาด ฤทธิ์ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย

วิธีใช้
ลูกอ่อนและใบแก่ของฝรั่งแก้ท้องเสีย ท้องเดินได้ผลดี ใช้แก้การท้องเดินแบบไม่รุนแรงที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค โดยใช้ใบแก่ ๑๐ - ๑๕ ใบ ปิ้งไฟแล้วชงน้ำรับประทาน หรือใช้ผลอ่อน ๆ ๑ ผล ฝนกับน้ำปูนใส รับประทานเมื่อมีอาการท้องเสีย

ผักบุ้งทะเล
ชื่อท้องถิ่น ละบูเลาห์ (มลายู - นราธิวาส)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบและเถาสด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์เต็มที่

รสและสรรพคุณยาไทย ถอนพิษลมเพลมพัด (อาการบวมเปลี่ยนที่เป็นตามอวัยวะทั่วไป) ทำเป็นยาต้มอาบแก้คันตามผิวหนัง มีการบันทึกว่า ยางมีพิษ รับประทานแล้วเมา คลื่นไส้วิงเวียน

วิธีใช้
การใช้ผักบุ้งทะเลรักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย (โดยเฉพาะพิษของแมงกะพรุน) ทำได้โดยเอาใบและเถา ๑ กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่บวมแดงบ่อย

เพกา
ชื่อท้องถิ่น มะลิดไม้, ลิดไม้,มะลิ้นไม้ (ภาคเหนือ),ลิ้นฟ้า (เลย)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงฝักแห้ง

รสและสรรพคุณยาไทย ไม่มีข้อมูล

วิธีใช้
เมล็ดเพกาเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่ง "น้ำจับเลี้ยง" ของคนจีนที่ดื่มแก้ร้อนใน และเมล็ดใช้เป็นยาแก้ไอและขับเสมหะ โดยใช้เมล็ด ครั้งละ ๑/๒ - ๑ กำมือ (หนัก ๑ ๑/๒ - ๓ กรัม) ใส่น้ำประมาณ ๓๐๐ มิลลิลิตร ต้มไฟเดือดนานประมาณ ๑ ชั่วโมง รับประทานวันละ ๓ ครั้ง

พญายอ
ชื่อท้องถิ่น ผักมันไก่, ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่),พญาปล้องดำ (ลำปาง),เสลดพังพอนตัวเมีย,พญาปล้องทอง (ภาคกลาง),ลิ้นมังกร,โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์ ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป

รสและสรรพคุณยาไทย รสจืด

วิธีใช้
ใบพญายอ รักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ (ปวด บวม แดง ร้อน แต่ไม่มีไข้) จากแมลงมีพิษกัดต่อย เช่น ตะขาบ แมงป่อง ผึ้งต่อย ต่อ แตน เป็นต้น โดยเอาใบสด ๑๐ - ๑๕ ใบ (มากน้อยตามบริเวณที่เป็น) ล้างให้สะอาด ใส่ลงในครกตำยา ตำให้ละเอียด เติมเหล้าขาวพอชุ่มยา ใช้น้ำหรือกากทาพอกบริเวณที่บวมหรือถูกแมลงสัตว์กัดต่อย

พลู
ชื่อท้องถิ่น เปล้าอ้วน,ซีเก๊ะ (มลายู - นราธิวาส),พลูจีน (ภาคกลาง)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบช่วงสมบูรณ์เต็มที่

รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดเป็นยาฆ่าเชื่อโรค ขับลม ตามชนบทใช้ตำกับเหล้าขาวทาบริเวณที่เป็นลมพิษ คนแก่ใช้ทาปูนแดงรับประทานกับหมาก

วิธีใช้
ใบพลู ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ได้ผลดี กับอาการแพ้ลักษณะลมพิษ โดยเอาใบ ๑ - ๒ ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว ทาบริเวณที่เป็น ห้ามใช้กับแผลเปิด

ไพล
ชื่อท้องถิ่น ปูลอย,ปูเลย (ภาคเหนือ),ว่านไฟ (ภาคกลาง),มิ้นสะล่าง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่จัด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเหง้าแก่จัด หลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว

รสและสรรพคุณยาไทย แก้ฟกบวม เคล็ดยอก ขับลม ท้องเดินและช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี นิยมใช้เป็นยาหลังคลอดบุตร

วิธีใช้
เหง้าไพล ใช้เป็นยารักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ โดยใช้เหง้าประมาณ ๑ เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้ากัน นำมาห่อเป็น ลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อยและฟกช้ำ เช้า - เย็น จนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้

ฟักทอง
ชื่อท้องถิ่น น้ำเต้า (ภาคใต้), มะฟักแก้ว (ภาคเหนือ),มะน้ำแก้ว (เลย),หมากอื้อ (เลย - ปราจีนบุรี),หมากอึ (ภาคอีสาน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ดฟักทองแก่

รสและสรรพคุณยาไทย รสมัน ไม่ระบุในสรรพคุณยาไทย แต่ยาจีนใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

วิธีใช้
ใช้เมล็ดฟักทองเป็นยาถ่ายพยาธิลำไส้ เหมาะกับการถ่ายพยาธิตัวตืดโดยใช้เมล็ดฟักทองประมาณ ๖๐ กรัม ทุบให้แตกผสมน้ำตาลและนม หรือน้ำตาลที่เติมลงไปจนได้ปริมาณ ๕๐๐ มิลลิลิตร แบ่งรับประทาน ๓ ครั้ง ห่างกันทุก ๒ ชั่วโมง หลังจากให้ยาแล้วประมาณ ๒ ชั่วโมง ก็ให้รับประทานน้ำมันละหุ่งระบายตาม

ฟ้าทลายโจร
ชื่อท้องถิ่น ฟ้าทลายโจร,น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ),หญ้ากันงู (สงขลา),ฟ้าสาง (พนัสนิคม),เขยตายยายคลุม (โพธาราม),สามสิบดี (ร้อยเอ็ด),เมฆทลาย (ยะลา),ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบในช่วงเริ่มออกดอก ใช้เวลาปลูกประมาณ ๓ เดือน

รสและสรรพคุณยาไทย รสขม

วิธีใช้
ใบฟ้าทลายโจรใช้รักษาอาการทองเสียและอาการเจ็บคอ มีวิธีใช้ ๓ วิธีดังนี้คือ

๑. ยาต้ม ใช้ใบฟ้าทลายโจรสด ๑-๓ กำมือ(แก้อาการเจ็บคอ ใช้เพียง ๑ กำมือ)ต้มกับน้ำนาน ๑๐ - ๑๕ นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ ๓ ครั้ง หรือเวลามีอาการ ยาต้มฟ้าทลายโจรมีรสขมมาก

๒. ยาลูกกลอน นำใบฟ้าทลายโจรสด ล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง (ควรผึ่งในที่ร่มมีอากาศโปร่ง ห้ามตากแดด) บดเป็นผงให้ละเอียด ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นเมล็ดยาลูกกลอน ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๘ เซนติเมตร ผึ่งลมให้แห้ง เก็บไว้ในขวดแห้งและมิดชิด

รับประทานครั้งละ ๓ - ๖ เม็ด วันละ ๓ - ๔ ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน

๓. ยาดองเหล้า นำใบฟ้าทลายโจรแห้ง ขยำเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในขวดแก้วใช้เหล้าโรง ๔๐ ดีกรี แช่พอให้ท่วมยาเล็กน้อย ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวด หรือคนยาวันละ ๑ ครั้ง พอครบ ๗ วันกรองเอาแต่น้ำ เก็บไว้ในขวดที่มิดชิดและสะอาด รับประทานครั้งละ ๑ - ๒ ช้อนโต๊ะ(รสขมมาก)วันละ

๓ - ๔ ครั้ง ก่อนอาหาร

มะเกลือ
ชื่อท้องถิ่น มะเกือ,มะเกีย (ภาคเหนือ),เกลือ (ภาคใต้),หมักเกลือ (ตราด)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลดิบสด (ผลแก่ที่มีสีเขียว ผลสุกสีเหลือง หรือผลสีดำห้ามใช้)

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ผลดิบสด

รสและสรรพคุณยาไทย รสเบื่อเมา ถ่ายพยาธิดัวตืด และพยาธิไส้เดือนตัวกลม

วิธีใช้
ชาวบ้านรู้จักใช้ลูกมะเกลือถ่ายพยาธิมานานแล้ว ผลดิบสดของมะเกลือ (ผลแก่ที่มีสีขาว ผลสุกสีเหลือง หรือผลสีดำห้ามใช้)ใช้ได้ดีสำหรับพยาธิปากขอ และพยาธิเส้นด้าย (พยาธิเข็มหมุด) โดยใช้ผลสดสีเขียวไม่ช้ำไม่ดำจำนวนเท่ากับอายุของคนไข้ (๑ ปีต่อ ๑ ผล)แต่ไม่เกิน ๒๕ ผล (คนไข้ที่

มีอายุเกินกว่า ๒๕ ปี ใช้เพียง ๒๕ ผล) นำมาตำโขลกพอแหลกแล้วผสมกับหัวกะทิสด คั้นเอาแต่น้ำดื่มให้หมด ก่อนรับประทานอาหารเช้า ถ้า ๓ ชั่วโมง แล้วยังไม่ถ่ายให้ใช้ยาระบาย เช่น ดีเกลือ ๒ ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำดื่มตามลงไป

มะขาม
ชื่อท้องถิ่น มะขามไทย (กลาง),ขาม (ใต้),คะลูบ (นครราชสีมา),ม่วงโคล้ง (กะเหรี่ยง - กาญจนบุรี),อำเปียล (เขมร - สุรินทร์)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เนื้อฝักแก่,เนื้อเมล็ดมะขามแก่

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาล

รสและสรรพคุณยาไทย เนื้อฝักแก่ รสเปรี้ยว เป็นยาระบาย ขับเสมหะ เนื้อเมล็ดมะขามรสมัน ใช้ขับพยาธิ

วิธีใช้
ส่วนต่าง ๆ ของมะขามเป็นยารักษา

๑. อาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกรสเปรี้ยว ๑๐ - ๒๐ ฝัก (หนัก ๗๐ - ๑๕๐ กรัม) จิ้มเกลือรับประทานแล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ หรือเติมน้ำคั้นใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม

๒. พยาธิไส้เดือน นำเอาเมล็ดแก่มาคั่วแล้วกะเทาะเปลือกออกเอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนิ่ม รับประทานครั้งละ ๒๐ - ๓๐ เมล็ด

๓. อาการไอมีเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร

มะขามแขก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบแห้งและฝักแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เริ่มเก็บใบได้ในช่วงอายุ ๑ เดือนครึ่ง (หรือก่อนออกดอก)

รสและสรรพคุณยาไทย ใบและฝักใช้เป็นยาถ่าย ใบไซ้ท้องมากกว่าฝัก

วิธีใช้
มะขามแขกเป็นยาถ่ายที่ดีใช้รักษาอาการท้องผูก โดยใช้ใบแห้ง ๑ - ๒ กำมือ (หนัก ๕ - ๑๐ กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้วิธีบดเป็นผงชงกับน้ำดื่ม หรือใช้ฝัก ๔-๕ฝัก ต้มกับน้ำดื่ม บางคนดื่มแล้วอาการไซ้ท้อง แก้ไขได้ โดยใช้ร่วมกับยา ขับลมจำนวนเล็กน้อย (เช่น กระวาน การพลู เป็นต้น)มะขามเหมาะกับคนท้องผูกเป็นประจำ แต่ควรใช้เป็นครั้งคราว ผู้หญิงมีครรภ์หรือมีประจำเดือนห้ามรับประทาน

มะคำดีควาย
ชื่อท้องถิ่น ชะแช ชะเหบ่เด(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ประคำดีควาย(ภาคกลาง ภาคใต้) มะชัก ส้มป่อยเถม (ภาคเหนือ)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลแก่

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงผลแก่ และตากแดดจนแห้ง

รสและสรรพคุณยาไทย รสขมแก้กาฬภายใน แก้พิษไข้ ดับพิษร้อน ลูกต้มแล้วเกิดฟอง สุมหัวเด็ก แก้หวัดแก้รังแค ใช้ชักผ้าและสระผมได้

วิธีใช้
ผลมะคำดีควาย ใช้รักษาชันตุที่หัวเด็กได้ โดยเอาผลมาประมาณ ๕ผล แล้วทุบพอแตก ต้มกับน้ำประมาณ ๑ ถ้วย ทาที่หนังศีรษะ บริเวณที่เป็นวันละ๒ครั้งเช้า-เย็นจนกว่าจะหาย (ระวังจะให้เข้าตาจะทำให้แสบตา)

มะนาว
ชื่อท้องถิ่น ส้มมะนาว มะลิว (เชียงใหม่)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกและน้ำของลูกมะนาว

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงผลสุก

รสและสรรพคุณยาไทย เปลือกผลรสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาวรสเปรียวจัด เป็นยาขับเสมหะ เมื่อก่อนตามชนบทเมื่อเด็กหกล้มหัวโน จะใช้น้ำมะนาวผสมกับดินสอพองโปะบริเวณที่หัว จะทำให้เย็นและยุบลง

วิธีใช้
เปลือกมะนาวและน้ำมะนาวใช้เป็นยาได้ โดยมีรายละเอียดการใช้ดังนี้

๑.เปลือกมะนาว รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟื้อ และแน่นจุกเสียด ให้นำเอาเปลือกของผลมะนาว ประมาณครึ่งผล ครึ่ง หรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออก ชงน้ำร้อนดื่มเวลามีอาการ

๒.น้ำมะนาว รักษาอาการไอ และขับเสมหะใช้ผลสดคั้นน้ำจะได้น้ำมะนาวเข้มข้นและใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือจะทำเป็นน้ำมะนาวใส่เกลือและน้ำตาล ปรุงให้รสจัดสักหน่อยดื่มบ่อยๆก็ได้

มะพร้าว
ชื่อท้องถิ่น ตุง (จันทบุรี) โพล (กาญจนบุรี) คอล่า (แม่ฮองสอน) หมากอุ๋น หมากอู (ทั่วไป)

ส่วนที่ใช้เป็นยา น้ำมันมะพร้าว

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงผลแก่ และนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมัน

รสและสรรพคุณยาไทย รสมัน ทาแก้ปวดเมื่อยและขัดตามเส้นเอ็น เจือกับยาที่มีรสฝาด รักษาบาดแผลได้

วิธีใช้
ใช้น้ำมันมะพร้าว มาปรุงเป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก วิธีใช้ทำได้โดยการนำเอาน้ำมันมะพร้าว ๑ ส่วนใส่ภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส ๑ ส่วน โดยเติมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วย คนจนเข้ากันดี แล้วใช้ทาที่แผลบ่อยๆ

มะแว้งเครือ
ชื่อท้องถิ่น มะแว้งเถา (กรุงเทพฯ),แคว้งเคีย (ตาก)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลแก่สด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ผลสุก

รสและสรรพคุณยาไทย รสขม เป็นยาขับเสมหะ

วิธีใช้
ใช้รักษาอาการไอและขับเสมหะนำเอาผลแก่สด ๕-๑๐ ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำใส่เกลือรับประทานบ่อยๆหรือใช้ผลสดเคี้ยวแล้ว กลืนทั้งน้ำและเนื้อจนกว่าอาการจะดีขึ้น

มะแว้งต้น
ชื่อท้องถิ่น มะแว้งขม มะแว้งดำ (เหนือ) มะแว้งคม (สุราษฏร์ธานี-สงขลา) มะแว้ง มะแว้งชม (สงขลา สุราษฏร์ธานี)

ช่วงเวลาที่ใช้เป็นยา ผลแก่สด

รสและสรรพคุณยา รสขมเป็นยาขับเสมหะ

วิธีใช้
ใช้รักษาอาการไอและขับเสมหะ นำเอาผลแก่สด ๕-๑๐ ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำใส่เกลือจิบบ่อยๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ กินบ่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น

มะหาด
ชื่อท้องถิ่น หาด (กลาง) หาดใบใหญ่ (ตรัง) หาดขนุน (เหนือ) กาแย ตาแป ตาแปง (นาราธิวาส) ปวกหาด (เชียงใหม่)

ส่วนที่ใช้เป็นยา แก่นต้นมะหาด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงอายุต้นมะหาด ๕ ปีขึ้นไป

รสและสรรพคุณยาไทย ปวกหาดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ละลายกับน้ำทาแก้ผื่นคัน

วิธีใช้
ผงปวกหาด เตรียมได้โดยการเอาแก่นมะหาดมาต้มเคี่ยวด้วยน้ำ จะมีฟองเก็ดขึ้นและช้อนฟองขึ้นมาตากแห้ง จะได้ผงสีเหลือง วิธีใช้ นำผงปวกหาดมาบดให้ละเอียด รับประทานกับน้ำสุกเย็นครั้งละ๑-๒ ช้อนชา (ประมาณ ๓-๕กรัม) ก่อนอาหารเช้า หลังจากรับประทานผงปวกหาดแล้วประมาณ ๒ ชั้วโมงให้รับประทานดีเกลือ หรือยาถ่ายตาม ใช้ถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือน

ข้อควรระวัง ห้ามรับประทานผงปวกกับน้ำร้อน จะทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้

มังคุด

ชื่อท้องถิ่น แมงคุด (ไทย)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกผลแห้ง

รสและสรรพคุณยาไทย รสฝาดแก้ท้องเสีย บิด มูกเลือด ในชนบทมักใช้ น้ำต้มเปลือกมังคุดล้างแผลช่วยให้แผลหายเร็ว

วิธีใช้

มังคุดใช้เป็นยารักษา

๑. อาการท้องเสีย ใช้เปลือกผลตากแห้ง ต้มกับน้ำปูนใส หรือฝนกับน้ำดื่ม

๒. บิด (ปวดเบ่ง มีมูก และอาจมีเลือดด้วย) ใช้เปลือกผลแห้งประมาณ ๑/๒ ผล(๔กรัม)ย่าง

ไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้ว หรือบดเป็นผงละลายน้ำข้าว(น้ำข้าวเช็ด) หรือน้ำสุกดื่มทุก ๒ชั่วโมง

ยอ
ชื่อท้องถิ่น ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลดิบหรือผลห่า

รสและสรรพคุณยาไทย รสขมเล็กน้อย ผลยอแก้อาเจียน ขับลม บำรุงธาตุ

วิธีใช้
ตำราแพทย์แผนโบราณกล่าวว่าใช้ผลยอหั่นปิ้งไฟพอเหลืองกรอบ ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยาใช้ร่วมกับยาอื่น แก้คลื่นไส้อาเจียนได้ผล ในการทดลองพบว่า ผลยอไม่มีพิษเฉียบพลันและใช้เป็นอาหารจึงใช้เป็นยาแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียนที่ไม่รุนแรงได้ เลือกเอาผลดิบหรือผลห่ามสด ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบ ต้มหรือชงน้ำดื่มใช้ครั้งละประมาณ ๒ กำมือ(๑๑-๑๕กรัม)เอาน้ำที่ได้จิบที่ละน้อยและบ่อยๆ

ครั้ง จะได้ผลดีกว่าดื่มทีเดียว

ย่านาง
ชื่อท้องถิ่น จอยนาง (เชียงใหม่) เถาวัลย์เขียว(ภาคกลาง) เถาหญ้านาง หญ้าภคินี (กลาง) จ้อยนาง (เชียงใหม่) วันยอ (สุราษฎร์ธานี)

ส่วนที่ใช้เป็นยา รากแห้ง

รสและสรรพคุณยาไทย รากหญ้านางแก้ไข้ทุกชนิด

วิธีใช้
รากแห้งใช้แก้ไข้ โดยใช้ครั้งละ ๑ กำมือ (หนัก ๑๕ กรัม) ต้มดื่ม ๓ ครั้งก่อน อาหาร

เร่ว
ชื่อท้องถิ่น มะอี้ หมากอี้ (เชียงใหม่) หมากเน็ง(อีสาน) มะหมากอี้ผาลา (ฉาน-เชียงใหม่) หมากแน่ง(สระบุรี)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ดใน

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงผลแก่

รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดปร่า แก้คลื่นเหียนอาเจียน และขับผายลม

วิธีใช้
เมล็ดในของผลแก่แก้อาการท้องอืด ท้องเฟื้อ และแน่นจุกเสียด บดเป็นผงกินครั้งละ ๓-๙ ผล (หนัก ๑-๓ กรัม)วันละ๓ครั้ง

เล็บมือนาง
ชื่อท้องถิ่น จะมั่ง จ๊ามั่ง มะจีมั่ง(ภาคเหนือ)ไท้หม่อง(กระเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเมล็ดแก่ช่วงเป็นสีน้ำตาล

รสและสรรพคุณยาไทย รสเอียนเบื่อเล็กน้อย ใช้ขับพยาธิและตาลซาง

วิธีใช้
เมล็ดเล็บมือนาง ใช้ถ่ายพยาธิใส้เดือน สำหรับเด็กใช้๒-๓เมล็ด(หนัก๕-๖กรัม) ผู้ใหญ่ใช้๕-๗เมล็ด(หนัก๑๐-๑๕กรัม) ทุบพอแตก ต้มเอาน้ำดื่มหรือหั่นทอดกับไข่รับประทาน

ว่านหางจระเข้

ชื่อท้องถิ่น ว่านไพไหม้(ภาคเหนือ) หางตะเข้(ภาคกลาง)

ส่วนที่ใช้เป็นยา วุ้นจากใบ

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงอายุ ๑ ปี

รสและสรรพคุณยาไทย รสเย็นจืดโบราณใช้ทาปูนแดงปิดขมับ แก้ปวดศีรษะ

วิธีใช้
วุ้นจากใบรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยเลือกใบที่อยู่ส่วนล่างของต้น เพราะใบใหญ่ได้วุ้นมากกว่าใบเล็กปอกเปลือกสีเขียวออกด้วยมีดที่สะอาดด้วยน้ำต้มสุกหรือน้ำด่างทับทิม ขูดเอาวุ้นใสมาพอกบริเวณแผล ทา๒ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย ช่วยระงับความเจ็บปวดช่วยให้แผลหายเร็ว และไม่เกิดแผลเป็น วุ้นว่านหางจระเข้ยังใช้ทารักษาผิวไหม้ที่เกิดจากแดดเผาได้

สะแก
ชื่อท้องถิ่น สะแกนา (ภาคกลาง),แก (ภาคอีสาน),ขอยแข้,จองแข้ (แพร่)แพ่ง (ภาคเหนือ)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ดแก่

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงที่ผลแก่

รสและสรรพคุณยาไทย ตามชนบทใช้เมล็ดแก่ ทอดกับไข่ ให้เด็กรับประทาน ช่วยขับพยาธิไส้เดือนและเส้นด้าย

วิธีใช้
เมล็ดแก่แห้งของสะแก ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือน โดนใช้เมล็ดแก่ ๑ ช้อนคาว (ประมาณ ๓ กรัม) ตำให้ละเอียดทอดกับใข่ให้เด็กรับประทานตอนท้องว่าง

ข้อควรระวัง ห้ามรับประทานเกินขนาดที่กำหนด

สัปปะรด
ชื่อท้องถิ่น มะขะนัด,มะนัด(ภาคเหนือ),บ่อนัด (เชียงใหม่),ขนุนทอง,ย่านัด,ยานัด(ภาคใต้),หมากนัด (ภาคอีสาน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าทั้งสดและแห้ง

รสและสรรพคุณยาไทย รสหวานเย็น ช่วยขับปัสสาวะ

วิธีใช้
ใช้เหง้าสดหรือแห้ง แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ โดยใช้เหง้าวันละ ๑ กอบมือ (สดหนัก ๒๐๐ - ๒๕๐ กรัม แห้งหนัก ๙๐ - ๑๐๐ กรัม) ต้มกับน้ำดื่มวันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ ๑ ถ้วยชา (ประมาณ ๗๕ มิลลิลิตร)


เสลดพังพอน
ชื่อท้องถิ่น ชองระอา,พิมเสนต้น (กลาง),พิมเสนต้น (ภาคกลาง),เช็กเซเกี่ยม (จีน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป

รสและสรรพคุณยาไทย รสขม ถอนพิษ แมลงสัตว์กัดต่อย โรคผิวหนัง

วิธีใช้
ใบสดของเสลดพังพอน รักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย โดยเอาใบสด ๑ กำมือ ตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น หรือตำผสมเหล้าเล็กน้อยก็ได้


สีเสียดเหนือ
ชื่อท้องถิ่น สีเสียดเหนือ (ภาคเหนือ),สีเสียนแก่น (ราชบุรี)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ก้อนสีเสียดเหนือ (ก้อนสีเสียดเป็นสิ่งสกัดที่ได้จากการนำเนื้อไม้มาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มกับน้ำกรองและเคี่ยวให้งวด จะเหลือก้อนแข็งสีดำ และเป็นเงา)

รสและสรรพคุณยาไทย มีฤทธิ์ฝาดสมาน

วิธีใช้
ก้อนสีเสียดช่วยฝาดสมานแก้อาการท้องเดินใช้ผงประมาณ ๑/๓ - ๑/๒ ช้อนชา (หนัก ๐.๓ - ๑ กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม

หญ้าคา
ส่วนที่ใช้เป็นยา รากสดหรือแห้ง

รสและสรรพคุณยาไทย รสจืด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ เป็นยาขับปัสสาวะ

วิธีใช้
ใช้รากสดหรือแห้ง แก้อาการขัดเบา ใช้วันละ ๑ กำมือ (สดหนัก ๔๐ - ๕๐ กรัมแห้ง ๑๐ - ๑๕ กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำรับประทานวันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ ๑ ถ้วยชา (๗๕ มิลลิลิตร)

หญ้าหนวดแมว
ชื่อท้องถิ่น พยับเมฆ (กรุงเทพฯ)

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบหญ้าหนวดแมว

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบที่สมบูรณ์ ขนาดกลางไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ล้างสะอาดและนำมาตากในร่มให้แห้ง

รสและสรรพคุณยาไทย ขับปัสสาวะ

วิธีใช้
หญ้าหนวดแมวแก้ขัดเบาทำได้โดยเอาใบแห้ง ๔ กรัม หรือ ๔ หยิบมือ ชงกับน้ำร้อน ๑ ขวด น้ำปลา เหมือนกับชงชา ดื่มวันละ ๑ ขวด ๓ ครั้ง หลังอาหาร

ข้อควรระวัง คือ คนที่เป็นโรคหัวใจ ห้ามรับประทาน (เพราะมีสารโปแตสเซียมมาก)

แห้วหมู
ชื่อท้องถิ่น หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้เป็นยา หัว

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บหัวแก่

รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดขมเล็กน้อย ขับลม

วิธีใช้
หญ้าแห้วหมูใช้เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อและแน่นจุกเสียด โดยใช้หัวหญ้าแห้วหมู ๑ กำมือ ( ๖๐ - ๗๐ หัวหรือหนัก ๑๕ กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มหรือใช้หัวสดครั้งละ ๕ หัว โขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน


อ้อยแดง
ชื่อท้องถิ่น อ้อยดำ,อ้อยขม

ส่วนที่ใช้เป็นยา ลำต้นทั้งสดหรือแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บลำต้นที่สมบูรณ์เต็มที่

รสและสรพคุณยาไทย รสหวานและขม แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา

วิธีใช้
ลำต้นอ้อยแดงทั้งสดหรือแห้งใช้เป็นยาแก้อาการขัดเบา โดยใช้ลำต้นสดวันละ ๑ กำมือ(สดหนัก ๗๐ - ๙๐ กรัม ,แห้งหนัก ๓๐ - ๔๐ กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำรับประทานวันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ ๑ ถ้วยชา (๗๕ มิลลิลิตร)

 มะพร้าว สารพัดประโยชน์
 สมุนไพรบำรุงกระดูก
 สมุนไพรเพิ่มภูมิต้านทาน
สมุนไพร | สุขภาพ | ความงาม หน้าแรก | แผนผัง | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อเรา